นวัตกรรมการรักษาแผลเบาหวานที่เท้า
ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดภาวะปลายประสาทเสื่อม อักเสบและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ในระบบของร่างกายได้ง่าย และยังเกิดแผลเรื้อรังที่เท้าตามมาอีกด้วยซึ่งเรียกว่า
แผลเบาหวานที่เท้า
สาเหตุของแผลเบาหวานที่เท้า
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- มีอาการชาบริเวณเท้า ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อเท้า
และเป็นแผลได้ง่าย
- เกิดการติดเชื้อที่เท้าและเป็นแผลตามมา
- การอุดตันของหลอดเลือดที่ขา เกิดจากระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลเบาหวานได้ คือ
การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกายvน้ำหนักตัวเกิน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ซึ่งหากมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้vควรระมัดระวังในการเดิน หรือการสวมใส่รองเท้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลเบาหวานโดยไม่รู้ตัว
การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า
หากมีแผลที่ไม่รุนแรง แพทย์อาจรักษาด้วยการทำความสะอาดแผล และใช้ยารักษา หรืออาจมีการขูดเนื้อที่ตายออกร่วมด้วย หากมีการตีบตันของหลอดเลือดเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาด้วยการใช้ยา แต่ในกรณีที่มีแผลเบาหวานที่เท้ารุนแรงและเรื้อรังอาจพิจารณาการรักษาด้วยการสอดใส่สายสวนขยายหลอดเลือด (Trans Catheter Dilation and Stent) หรือ การผ่าตัดทำ Bypass หลอดเลือดเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงที่ขา ในกรณีที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาไม่ทันท่วงที มีการติดเชื้อที่รุนแรง แพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณาตัดเท้า หรือ ตัดขา ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสุขภาพเท้าและร่างกายเป็นประจำ
ประโยชน์ของการตรวจ Ankle – Brancnhial index มีอะไรบ้าง
ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบตัน
ใช้ในการประเมินระดับความรุนแรงการตีบของหลอดเลือด
ใช้ประเมินระดับความเสี่ยงในการเกิดโรคระบบหลอดเลือด
ใช้ประเมินผลก่อนและหลังการรักษา
ป้องกันและเตรียมตัวอย่างไรไม่ให้เป็นแผลเบาหวานที่เท้า
การตรวจหาภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วยปลายตีบตัน การตรวจไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจเป็นการตรวจเช็คการอุดตันของหลอดเลือดแดงและความยืดหยุ่นของหลอดเลือด,ค้นหาโรคอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดส่วนปลายอุดตันซึ่งมักพบบ่อยร่วมกับภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเส้นเลือดสมองตีบ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นเบาหวานสูบบุหรี่หรือผู้ที่มีอาการปวดขา ปวดน่องเทคโนโลยีนี้เป็นที่เชื่อถือได้และรู้จักกันดีในวงการแพทย์ คือ
เทคโนโลยีการตรวจด้วยเครื่อง ABI ( Ankle-Bracnhial index)
เป็นเทคโนโลยีที่ง่ายปลอดภัยและคุ้มค่าสามารถตรวจเช็คพร้อมกันทุกจุดของร่างกายและทราบผลได้ในเวลาอันรวดเร็ว