• 3850 ถนนพระราม 4 คลองเตย กรุงเทพ
  • ตลอด 24 ชั่วโมง
  • 02-348-7000

โซเดียมแฝงที่พบในอาหาร


โซเดียม คือแร่ธาตุตัวหนึ่งที่มีผลต่อความดันโลหิต รวมไปถึงสมดุลน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย โดยเฉพาะในภาวะที่เราเจ็บป่วย ยิ่งจำเป็นต้องควบคุมปริมาณโซเดียม เราจึงควรเลือกบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม โดยองค์การอนามัยโลกได้แนะนำปริมาณโซเดียมที่ควรบริโภคต่อหนึ่งวัน ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม เพื่อลดความเสี่ยง ของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 


แล้วการจำกัดปริมาณโซเดียมไม่ให้เกิน 2,000 มิลลิกรัม เราสามารถกินอะไรได้บ้าง?
โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4 ช้อนชาครึ่ง นอกจากโซเดียมในเครื่องปรุงรสต่างๆ แล้วยังมีอาหารหรือวัตถุดิบในการประกอบอาหารอีกหลายชนิด ที่แม้ไม่ได้มีรสชาติเค็มมาก แต่แฝงไปด้วยโซเดียมปริมาณมาก เช่น เนื้อสัตว์แปรรูป (ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูยอ กุนเชียง) หรือแม้กระทั่งขนมหวาน จำพวกเบเกอรี่ก็มีปริมาณโซเดียมจากผงฟูอยู่ไม่น้อย

เพราะฉะนั้นหากคุณมารักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะมารักษาด้วยโควิดที่มีหรือไม่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ทางห้องอาหารมีดีของเราอยากให้คุณสบายใจได้ว่าเมนูทุกเมนูที่จัดเสิร์ฟนี้เป็นเมนูที่ปรุงประกอบจากวัตถุดิบที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์แปรรูป ไม่ใช่อาหารหมักดอง งดการเสิร์ฟขนมที่มีการเติมผงฟู และที่สำคัญยังลดการเติมเครื่องปรุงเพิ่มลงในอาหารที่ปรุงสำเร็จ ทำให้ทุกคนมั่นใจได้ว่าทั้งข้าวคลุกกะปิที่คุณรับประทานมื้อกลางวัน หรือแม้กระทั่งบะหมี่ น้ำหมูแดงที่จัดเสิร์ฟในมื้อเย็น ก็ล้วนเป็นเมนูที่มีปริมาณโซเดียมเหมาะสมทุกเมนู


โดย
วีณา หัตถากรวิริยะ RD., CDT. 
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ
ศูนย์โภชนาการและการกำหนดอาหาร รพ. เทพธารินทร์ x วิมุต

บทความที่เกี่ยวข้อง

02-348-7000

Have a question? call us now

@theptarin

Be friend with us

info@Theptarin.com

Need support? Drop us an email